โครงงาน การสานแห

โครงงาน การสานแห

บทที่ 1
บทนำ
 แนวคิดที่มาของโครงงาน   
            เทคโนโลยีทางการสื่อสาร เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน เริ่มมีบทบาทในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และมีส่วนช่วยสนับสนุนสื่อทางด้านการศึกษาอีกด้วยโดยสื่อสมัยใหม่นิยมเป็น สื่อการเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพราะ สะดวกรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่าย                                                                                                                              
           การสานแหเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษองคนไทย ซึ่งใช้การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพซึ่งมีให้เห็นอยู่แพร่หลาย การที่เราเรียนรู้วิธีการสานแหนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของคนไทยแล้วยังเป็นหนึ่งในวิธีการทาหากินอีกด้วย

วัตถุประสงค์
          1 เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย                                               
          2 การสานแหเพื่อใช้เป็นการประกอบอาชีพ
          3 การสานแหเพื่อใช้ในการดำชีวิต
          4 เพื่อศึกษาวิธีการสานแห

ชอบเขตการศึกษา
          1 ศึกษาการสานแหของญาติผู้ใหญ่หรือชาวบ้าน
          2 ศึกษาความสำคัญของการใช้แห

ระยะเวลาในการดำเนินงาน
     การดำเนินงานครั้งนี้ใช้ระยะเวลาตั้งแต่วันที่  26 มกราคม พ.ศ 2558  ถึง 20 กุมภาพันธ์  พ.ศ 2558

ประโยชน์ที่ได้รับ
          1.ได้ทราบวิธีการสานแห
          2. ได้ทราบวิธีการใช้แหเพื่อดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ
          3.ได้สื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการสานแห
          4..ได้เรียนรู้วิธีการสร้างเว็บ เรื่อง การสานแห









บทที่ 2
เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

          การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง โรคความอ้วน  คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าเสนอเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
          แห เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นตาข่ายใช้ทอดแผ่ลงในน้ำ แล้วต้องดึงขึ้นมา เพื่อการยังชีพ หรือเพื่อประกอบอาชีพของคนชั้นล่างของสังคมที่กล่าวเช่นนี้ เพราะยังไม่เคยเห็นคนชั้นสูงหรือคนชั้นกลางใช้แหเพื่อหาปลาเป็นอาหาร หรือหาปลาเพื่อการจำหน่ายเป็นประจำ แต่จะเป็นครั้งคราวของบุคคลชั้นดังกล่าว เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลินในยามว่างหรืออาจจะมีบ้างที่บางคน อดีตเคยเป็นชาวบ้านธรรมดาอยู่ตามชนบท ตอนหลังอพยพเข้าสู่ตัวเมืองและเปลี่ยนอาชีพในสังคมเมือง ฐานะดีขึ้น จึงอยากระลึกถึงอดีตของตัวเองเท่านั้นเอง ดังนั้น แหจึงถือเป็นเครื่องมือเพื่อการยังชีพ หมายถึงใช้จับปลาเพื่อการบริโภคในชีวิตประจำวันและใช้ประกอบอาชีพ คือใช้จับปลาเพื่อการจำหน่าย ของชาวบ้านในชนบทซึ่งเป็นฐานะทางสังคม แหถือเป็น ภูมิปัญญา ของชาวบ้านที่แท้จริง เพราะมันคือส่วนหนึ่งของชีวิต ให้ชีวิตมีห่วงโซ่เรื่องอาหาร และรายได้ในชีวิตประจำวัน แหจึงได้รับการพัฒนาและเอาใจใส่ เริ่มจากการได้รับการถ่ายทอดเบื้องต้นจากบรรพบุรุษ แล้วลองผิดลิงถูกจนเป็นองค์ความรู้และประสบการณ์เฉพาะตัวของบุคคล ความแตกต่างของความเชื่อ เรื่องแห ทั้งโครงสร้าง ขนาด วิธีทอด วิธีย้อม และวิธีต่างๆ ที่ดีแล้วคล้ายๆกัน แต่ลึกๆแล้วมีหลายอย่างที่แตกต่างกัน ซึ่งก็แล้วแต่ความเชื่อจากวิธีปฏิบัติจริงๆ และได้ผลที่ต่างกันของบุคคล จนกลายเป็นประสบการณ์และภูมิปัญญาของตนเองในที่สุด นี่เองที่นักวิชาการเพิ่งเห็นความจำเป็น เข้าใจและเลือกใช้คำว่า ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

ความจริง แห เขาใช้ทอด  เหวี่ยง (ภาคกลาง) หรือตึก (ภาคอิสาน) เพื่อหาปลาในนาเท่านั้น บ่อยครั้งที่แหใช้ทอดบนบก ก็มีในบางกรณี บางโอกาส เช่น ใช้ทอดหรือตึกเพื่อจับไก่ เพื่อจับงู เพื่อจับหมา จับกบ ต่างกรรมต่างวาระ ดังกล่าว มาจากการไล่จับจนหมดแรงแล้ว จึงต้องทุนแรงโดยการพึ่งแห ซึ่งเป็นวิธีสุดท้ายอย่างไรก็ตาม บทความนี้ ก็คงให้รายละเอียดในบางเรื่อง บางประเด็นที่ที่เกี่ยวกับแหเป็นมุมมองเชิงมนุษย์วิทยาวัฒนธรรม ให้ผู้อ่านที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่า แห คืออะไร รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร มีความยาก ง่าย เกี่ยวกับวิธีสาน ความเชื่อที่เกี่ยวกับแห และหน้าที่เฉพาะของแห เพื่อเสริมแต่งความรู้ แก่ผู้สนใจให้เข้าใจและบันทึกองค์ความรู้หนังสือ แม้จะไม่สมบูรณ์นัก
แห เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งสำหรับใช้จับปลา ซึ่งนิยมกันมากของคนทั่วไป เพราะโดยทั่วไปทุกๆคนจะมีแหล่งน้ำขนาดเล็กมากมาย สวนหนอง บึง ลำคลอง หรือแม้นาขนาดใหญ่จะมีน้อยมากและไม่สามารถเก็บน้ำได้ตลอดปี วิธีจับปลาที่ได้ผลเร็วและสะดวกที่สุดของคนทุกภาค ก็คือการใช้แหแทนเท่านั้น ดังนั้น แหของคนทุกภาค จึงมีหลายขนาด หลายชนิด ด้วยความจำเป็นเพื่อการยังชีพในอดีตแทบทุกครัวเรือน ดังนั้นชาวบ้าน จึงมีแหไว้จับปลา และถ่ายทอดภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับแห ไว้อย่างต่อเนื่อง คงความเชื่อโบราณหรือเป็นวิถีชีวิตปกติ                                                                                                                                 1. การสานแห  การสานแหมีมาตั้งแต่ช้านานซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการทำมาหากินและเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดำรงชีวิตในอดีต ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ เช่น สถานอาศัยที่อยู่ใกล้ที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นต้น  

          2. อุปกรณ์ในการสานแห
          2.1 ด้ายในล่อนขาว ด้ายสานแห หรือ เอ็นสานแห
             

                                                                                                                                         
      2.2 ชนุน(กิม มีลักษณะเป็นไม่ไผ่แบนหนาประมาณ 3-4 มิลลิเมตร กว้าง 1 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว หัวแหลมมน ประมาณ1 ใน 3ส่วนของความยาวเจาะทะลุยาวตามส่วน1 ใน 3 มีเดือยตรงกลาง ส่วนท้ายฝช้มีดควงให้เป็นตัวยู)


     
          2.3 ไม่ไผ่ หรือ ปาน (มีลักษณะการเหลาไม้ไผ่คล้ายไม้บรรทัดยาว 5-6 นิ้ว หนาประมาณ 2 - 3 ม.ม. ความกว้างขึ้นอยู่กับตาของแหที่ต้องการ)

          2.4 กรรไกร


          2.5 ลูกแห หรือ ลูกโซ่ตะกั่ว 

          2.6 สีย้อมแห หรืออาจจะไม่ใช้ก็ได้

          3. วิธีการสานแห ขั้นแรกจะต้องเตรียมอุปกรณ์ในการถักแห (สานแห) ให้ครบ แล้วเตรียมเหลาไม้ไผ่ขนาดเล็กใหญ่ เนื่องจากขนาดรอบของด้ายที่จะใช้สานมีขนาดความยาวมากน้อยแตกต่างกัน จะเริ่มต้นสานแหจากจอมแหก่อนเพิ่มและขยายรอบการถักออกและขยายตาข่ายให้กว้างเพื่อที่จะทำให้เป็นวงกลมทั้งฝืน ตามขนาดของการใช้งาน ขนาดของการสานแห ยาวขนาด เจ็ดศอก เก้าข้อศอก และ สิบเอ็ดข้อศอก ขนาดความกว้างมีหลายขนาด อาทิ แหขนาดตาข่าย สองเซ็น สี่เซ็น ห้าเซ็น (เซนติเมตร) ภาษาท้องถิ่นจะเรียกขนาดของตาข่ายว่าเซ็น เป็นต้น ซึ่งจะสานตามความต้องการของการใช้งาน ขั้นตอนพอสังเขป ในการสานแห (ถักแห)    

วิธีการสานแหโดยสังเขป
          1. เริ่มทำการถักที่จับแหส่วนบน (เรียกว่าจอมแห เพื่อใช้จับดึงเวลาหวานแห) และนำไปแขวนไว้ให้สูงพอประมาณเพื่อสะดวกต่อการถักส่วนล่าง บางทีแขวนด้วยตะปูตามฝาผนังบ้าน ผนังข้างบ้าน หรือต้นเสากลางบ้านตามความเหมาะสม หรือความสะดวกของคนที่ต้องการสาน

วิธีการก่อจอมแห
          1.ตีตะปูสองตัวระยะห่างแล้วแต่ความต้องการจอมเล็กจอมใหญ่ เสร็จแล้วใช้ด้ายพันรอบตะปูเก้ารอบ ผูกหรือมัดไว้ให้แน่น ดังรูป

2.ถัก เพื่อความแข็งแรงสวยงาม เว้นปลายทั้งสองข้างประมาณข้างละ3ซม. วิธีถักคล้องดูตามรูป

      3. ถักเสร็จแล้วหน้าตาเป็นแบบนี้

4.พับครึ่งจัดให้เท่าๆกันแล้วมัดไว้ให้แน่น


5. ถักเพิ่มเพื่อแยกตาแหให้เรียงรอบจอม ทั้งหมด16ตา 



2. ใช้ชนุนร้อยเชือกไนล่อนที่เตรียมไว้ เริ่มถักโดยใช้ไม้กระดานรองเพื่อให้แต่ละช่องตาข่ายมีขนาดเท่ากัน และดึงขณะที่ถักเพื่อให้ตึงตาข่ายจะได้เสมอกัน ขนาดเท่ากัน ถักไปเรื่อย ๆ ตามความยาวของขนาดแห ดังกล่าวข้างต้นข้างต้น ซึ่งเราสามารถสานแหได้หลายรูปแบบ เช่น การขมปมแหแบบพิรอด แบบบ่วงสายธนู แบบปมขอด แต่ในที่นี้จะนำเสนอการขมปมแบบบ่วงสายธนูมาเป็นตัวอย่าง

              1.    ใช้ปาน(ไม่ไผ่)สอดเทียบกับตาแห


2. จากนั้นก็ขึงด้ายสานแหไว้


3.ใช้ปลายกิมหรือชนุนเสยด้ายสานแหขึ้






4.จากนั้นก็ตวัดลงข้างล่างซึ่งจะเห็นเป็นห่วงแบบนี้

5.ใช้ปลายกิมเกี่ยวตาบนของตาแห


6.จากนั้นก็ใช้ปลายกิมเกี่ยวเส้นด้ายสานแหผ่ากลางห่วง


          7.แล้วก็ดึงให้รอดออกไป


          8.ใช้นิ้วนางหรือนิ้วก้อยขึงไว้แล้วก็ทำแบบนั้นเดิมไปเรื่อย


          3. สานแหได้ตามขนาดตามต้องการ ที่ปลายแห (ตีนแห) ให้ร้อยลูกแหด้วยลูกโซ่ตะกั่วเพื่อถ่วงน้ำหนักของแหเวลานำไปหว่านจับปลาจะได้ดักปลาไว้จนกว่าจะทำการจิกขอบแหครบรอบวงกลมของแห เป็นวิธีภูมิปัญญาอีกอย่างหนึ่งที่เกิดจากประสบการณ์          
          เมื่อสานแหเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำอุปกรณ์แหไปทำการย้อม โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ การย้อมสีของแหสมัยก่อนจะย้อมจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ เปลือกไม้ หรือ ผล เช่น ผลตะโกตำให้แหลกเป็นน้ำ แล้วนำแหมาหมักทิ้งไว้ในน้ำตะโก 1 คืน (จะได้สีออกแดง) และเอาขึ้นมาตากแดดให้แห้ง แล้วหมักโคลนต่อเพื่อให้สีติดทนนาน ซึ่งการหมักตะโกนี้จะทำให้แหมีสีออกดำ และอีกวิธีหนึ่ง จะนำ เอาเปลือกไม้ประดู่มาต้มเคี่ยวให้แดง พอน้ำร้อนแดงได้ที่ ยกลงปล่อยให้อุ่นพอประมาณ ให้เอาแหแช่ไว้ประมาณ 2-3ชั่วโมง แล้วนำออกมาตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำไปแช่น้ำโคลนประมาณ 1-3 ชั่วโมง จึงนำไปวักแหมีสีดำช่วยยืดอายุในการใช้งานยาวนาน
4. การถวงแห หลังจากตากแห แห้งดีแล้วปราชญ์ชาวบ้านบางท่านกล่าวว่า แหก็ยังนำไปทอดหรือตึกไม่ได้ จะต้องนำแห มาถ่วงโดยการใช้ไหบรรจุน้ำจนเต็ม ด้วยการนำไหใส่ในตัวแหแล้วมัดตีนแหให้จอมมัดกับขอหรือกิ่งไม้ ทิ้งไว้ข้ามคืนโดยประมาณ จุดประสงค์เพื่อให้แหมีความกระชับและอยู่ตัว หลังจากนั้น แหก็ใช้ทอดหรือตึกได้เลย การเหวี่ยงแห (ทอดแห ตึกแห) ถือเป็นศาสตร์เฉพาะตัวจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะตัวมาก
          5. วิธีบำรุงรักษา เมื่อนำแหไปใช้เป็นอุปกรณ์หาปลา เวลาใช้เสร็จจะต้องทำความสะอาด เนื่องจากอาจมีเศษใบไม้ หญ้า ฟาง ดินเหนียว ติดกับหัวแห ล้างและทำความสะอาด สะบัดน้ำให้หมาด ๆ แขวนผึ่งลม ผึ่งแดด เพื่อเป็นการรักษาให้อายุการใช้งานได้ยาวนาน สำหรับอายุการใช้งาน ประมาณ 10 ปี ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบำรุง รักษา อุปกรณ์การใช้งานของส่วนประกอบของแหนั้นเอง
6. ผลผลิต การจับปลาโดยวิธีใช้แหเป็นเครื่องมือ ทำให้ปลาไม่บอบซ้ำ เพราะเครื่องมือเบาและเป็นการจับปลาที่ใช้เวลาไม่มาก ถ้าเป็นจับปลาโดยเครื่องมือ มอง ทำให้ปลาอาจตายก่อนและบอบซ้ำจากการดิ้นรนของปลาที่ถูกตาข่ายของมองรัดตัวนั้นเอง การจับปลาด้วยมองจะต้องใช้เวลานานกว่าจับด้วยอุปกรณ์จับปลา แห เพราะต้องรองให้ปลามาดักติดตาข่ายของมองก่อน ยกเว้น จับปลาในบริเวณที่เลี้ยงไว้ในสระ หรือ โซนวังปลาจะได้ปลาในเวลาไม่นานนัก ซึ่งก็ไม่แตกต่างกันมากเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับผู้จับปลาว่ามีเวลามากน้อยเพียงใด นั้นเอง ซึ่งแต่ละคนก็จะปรับวิธีการตามความต้องการของตนเอง โดยใช้ภูมิปัญญาวิเคราะห์หาทางเลือกจากประสบการณ์ที่พวกเขาเคยทำมาซ้ำแล้วซ้ำอีกจึงกลายเป็นทฤษฎีการวิเคราะห์วิธีหาปลาในแต่ฤดูกาล แต่ละสถานที่ ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม้แต่ในทุ่งนา วิถีของพาลปลาก็จะใช้ภูมิปัญญาที่แตกต่างกันไป                                                                                                   
7. ช่วงเวลาว่างที่สานแห เวลาของการสานแหส่วนมากจะใช้เวลาว่าง จากงานไร่ นา สวน ทำการสานแห หรือคนที่มีอายุมาก ๆ ไม่สามารถจะออกไปทำงานหนัก ๆ ได้ อยู่เฝ้าบ้าน เลี้ยงหลาน จึงใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ บางคนสานเพื่อให้ลูกหลานเอาไปเป็นเครื่องมือในการหาเลี้ยงครอบครัว ในสมัยโบราณส่วนมากจะไม่ขาย อย่างน้อยก็มีการแลกเปลี่ยนข้าวปลาอาหารกันเท่านั้น นอกเสียจากมีผู้คนมาขอซื้อจึงสานขายให้ถ้ามีเวลา เป็นอุปกรณ์ที่ผู้ชายนิยมนำไปจับปลาสะดวกและง่ายต่อการจัดเก็บรักษา การสานแหจะใช้เวลาประมาณ สี่สิบห้าวัน จึงจะสานเสร็จ ปกติไม่รีบร้อนในการสานทักเท่าไร มีเวลาว่างช่วงไหนก็สานช่วงนั้นเพราะบางคนไม่มีเวลาเพียงสานแหอย่างเดียว บางทีต้องหุงหาอาหารรับประทานเอง บางคนก็เลี้ยงลูก เลี้ยงหลาน ดูแลบ้านเป็นต้น ไม่จำกัดเวลาที่ทำ มีอิสระในการสาน

ข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับแห
แหถี่(ตาเล็ก) มีตาเล็กกว่านิ้ว    แหห่าง (ตาใหญ่) มีตาใหญ่กว่า 1 นิ้วขึ้นไป
          ถ้าแบ่งตามลักษณะของแห ลงน้ำที่นำแหไปใช้ คือ ทุกพื้นที่ ที่มีน้ำขัง จะใช้แหขนาดยาว 9 ศอก โดยการเหวี่ยงหรือหว่านแห จากเรือหาปลา สวนแหห้วย แหหนอง จะยาว 5 - 6 ศอก โดยการเหวี่ยงแหจากฝังหรือลุยน้ำเหวี่ยงแหในห้วย ในหนอง ถ้าแบ่งตามขนาดของแห นิยมใช้นิ้วมือเป็นเครื่องวัด คือแหชี้ (ขนาดตาแหนิ้วชี้) แหโป (ขนาดตาแหเท่าหัวแม่มือ) แหสอง (ขนาดตาแหเท่าสองนิ้ว) แหสาม แหสี่ แหห้า แหหก แหเจ็ด แหแปด (ใช้นิ้วมือเป็นมาตรฐานขนาดของตาแห)
          สำหรับชาวบ้านชาวชนบทแล้ว แหคือความห่วงโซ่เรื่องอาหารและรายได้ เพื่อการยังชีพ ตราบใดที่แหล่งน้ำธรรมชาติยังมีอยู่ นั้นหมายถึงที่นั้นย่อมมีปลาและอาหารธรรมชาติ ดังนั้นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับแห ยังคงโยงใยกับชีวิตชาวบ้านของชนบท ทุกภาคตลอดไป เพราะวิถีชีวิตได้ถูกกำหนดและถ่ายทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน แม้วัฒนธรรมหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป แต่แห ยังผูกพันกับปวงชนของบุคคลระดับกลางของสังคมชนบท

บทที่ 3
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการดำเนินโครงงาน

  3.1  โปรแกรมที่ใช้ในการทำโครงงานบทที่ 3
            3.1.1  โปรแกรม Power Point
            3.1.2  โปรแกรม Microsoft Word 2007
            3.1.3   เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ http://www.blogger.com/  
            3.1.4  เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ 
-  www.facebook.com 
-  www.gmail.com  
-  www.google.com
-  http://pantip.com/  

3.2 วิธีการดำเนินโครงงาน
1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนําเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
2. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่าง ๆ และจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทําเนื้อหาต่อไป
3. ศึกษาการสร้างเว็บไชต์โดยใช้โปรแกรม Bloggerจากเอกสาร และจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่เสนอเทคนิค วิธีการสร้าง
4. จัดทําโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนําเสนอครูที่ปรึกษา
5.จัดทําโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บไชต์ เรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยสร้าง บทเรียนที่สนใจตามแบบเสนอโครงร่างที่เสนอ
6.นําเสนอรายงานความก้าวหน้าให้ครูที่ปรึกษาโครงงานได้ตรวจสอบ ซึ่งครูที่ปรึกษา จะให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อให้จัดทําเนื้อหาและการนําเสนอที่น่าสนใจ ทั้งนี้เมื่อได้รับคําแนะนํา ก็จะนํามาปรับปรุงแก้ไขแก้ไขให้เป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้น
7. จัดทําเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์












บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

             4.1) ผลการดำเนินงาน
          คณะผู้จัดทำสามารถดำเนินการได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีโดยการวางแผนวิธีดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน และมีการนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการทำโครงงาน เช่น
1.การรวบรวมข้อมูล “วิธีการสานแห” จากทางอินเตอร์เน็ต และเว็บไซต์ต่างๆ 
2.การศึกษาวิธีการสร้างเว็บบล็อกเพื่อใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้เรื่อง “การสานแหจากทางอินเตอร์เน็ต
          3.การศึกษาและฝึกหัดสานแหด้วยตัวเอง   
                        



























บทที่ 5
สรุป  อภิปรายและข้อเสนอแนะ

การจำทำโครงงานโรคความอ้วน นี้สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้                                          
1.วัตถุประสงค์ของโครงงาน
          1.   เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก เรื่อง การสานแห
          2.  เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          3.  เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป

 2.วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ โปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา  
          1.   โปรแกรม Power Point
          2. โปรแกรม Microsoft Word 2007
          3.  เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ http://www.blogger.com/  
          4.   เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ www.facebook.com  , www.gmail.com ,   www.google.com  ,  http://pantip.com/

สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
          จากการดำเนินงานโครงงานการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การสานแห ในครั้งนี้สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้ทำให้ ได้เว็บบล็อกเรื่อง การสานแห เป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งทำให้เกิดประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไปส่งเสริมให้ทุกคนมีรายได้เสริม และช่วยในการดำเนินชีวิตในการเลี้ยงชีพ รวมทั้งการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                                             
ข้อเสนอแนะ 
ควรมีการจัดทำเนื้อหาของโครงงานให้หลากหลายให้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และมีวิธีการสานแหที่ละเอียดพร้อมรูปภาพตัวอย่าง อย่างชัดเจน

ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับการทำโครงงาน และบางครั้งอินเทอร์เน็ตมีปัญหาเรื่องการล่าช้า
2.  สมาชิกในกลุ่มบางคนให้ความร่วมมือน้อยเพราะไม่ค่อยใส่ใจกับโครงงานนักจึงทำให้เสียเวลาและ  ทำให้โครงงานเสร็จช้า
          3. เนื้อเรื่องการสานแหแบบละเอียดมีไม่เพียงพอและค้นหารูปวิธีการสานแหแบบละเอียดยาก
                                   

                               



บรรณนานุกรม

http://style336.blogspot.com                                                       
https://www.youtube.com/watch?v=83d322GGslA      
http://fishnetswisdom.blogspot.com/2012/01/blog-post.html  
http://www.fisheries.go.th/sf-sisaket/web2/images/stories/view/hac.pdf        
https://www.gotoknow.org/posts/500298            


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

น้ำยาเช็ดกระจกจากใบเตย มะเฟือง